Thursday, February 2, 2012

การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ

การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ
แบ่งได้ 5 ประเภท ดังนี้ คือ

1. กรมธรรม์ประเภท 1 ให้ความคุ้มครองมากที่สุด คือ

1.1 ความรับผิดต่อความเสียหายต่อ ชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก
1.2 ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
1.3 ความรับผิดต่อความสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย
1.4 ความรับผิดต่อความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย

* ในกรณีได้รับส่วนลดประวัติดี สามารถรับส่วนลดโดยมีหลักฐานประวัติดีแสดงต่อเจ้าหน้าที่ผู้รับแจ้งงาน

2. กรมธรรม์ประเภท 2 ให้ความคุ้มครอง ดังต่อไปนี้

2.1 ความรับผิดต่อความเสียหายต่อ ชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก
2.2 ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
2.3 ความรับผิดต่อความสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย

3. กรมธรรม์ประเภท 3 ให้ความคุ้มครองเฉพาะบุคคลภายนอก   ได้แก่

3.1 ความรับผิดต่อความเสียหายต่อ ชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก
3.2 ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก

4. กรมธรรม์ประเภท 4 ให้ความคุ้มครองทรัพย์สินของบุคคลภายนอก

4.1 รับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก 100,000 บาท/อุบัติเหตุแต่ละครั้ง คลิกที่นี่

5. กรมธรรม์ประเภท 5 แบบคุ้มครองเฉพาะภัย แบ่งเป็น 2 แบบ ดังนี้

 แบบ 2+ ความคุ้มครอง 

ความรับผิดต่อความเสียหายต่อ ชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก
ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
ความรับผิดต่อความสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์
ความรับผิดต่อความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัยกรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบก

      * ( กรณีที่ที่ชนกับยานพาหนะทางบกและเป็นฝ่ายผิดจะต้องเสียความเสียหายส่วนแรกต่อความเสียของตัวรถยนต์ผู้เอาประกันภัยไม่เกิน 2,000 บาท)

 แบบ 3+ ความคุ้มครอง

ความรับผิดต่อความเสียหายต่อ ชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก
ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
ความรับผิดต่อความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัยกรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบก

นอกจากนี้กรมธรรม์ทั้ง 5 ประเภทผู้เอาประกันภัยยังสามารถขยายความคุ้มครองเพิ่มเติมได้อีก ดังนี้
1. ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล
2. ประกันภัยค่ารักษาพยาบาล
3. ประกันตัวผู้ขับขี่ในคดีอาญา






การประกันอัคคีภัย


การประกันอัคคีภัย
คุ้มครองความเสียหายขั้นพื้นฐาน อันเกิดจากไฟไหม้ ฟ้าผ่า และการระเบิดของแก๊สที่ใช้ในครัวเรือน สำหรับความเสียหายจากภัยเพิ่มพิเศษ เช่น ภัยลมพายุ ภัยเนื่องจากน้ำ ภัยน้ำท่วม* ภัยจากยวดยานพาหนะ ภัยจากอากาศยาน ภัยแผ่นดินไหว ภัยจลาจลนัดหยุดงาน ภัยจากการกระทำอย่างป่าเถื่อนและเจตนาร้าย ภัยระเบิด เป็นต้น สามารถขยายการคุ้มครองได้โดยการชำระเบี้ยประกันภัยสำหรับภัยเพิ่มพิเศษนั้น



ตารางเบี้ยประกันอัคคีภัย (พื้นฐาน) ต่อทุนประกัน 100,000.- บาท
ลักษณะภัย
อาคารคอนกรีต
อาคารตึกปนไม้
อาคารไม้
บ้านอยู่อาศัย
118 บาท
276 บาท
436 บาท
ร้านค้าย่อย
253 บาท
592 บาท
871 บาท
โกดังสินค้าไม่อันตราย
292 บาท
710 บาท
920 บาท
  

-
 พิกัดอัตราเบี้ยประกันอัคคีภัย กำหนดให้เบี้ยประกันสุทธิขั้นต่ำต่อกรมธรรม์ 1 ฉบับ 
   เป็นจำนวนเงิน 600 บาท

-
 เบี้ยดังกล่าวเป็นอัตราทั่วไป ซึ่งอาจมีเพิ่มหรือลดได้ตามลักษณะการใช้สถานที่เอาประกันภัย จำนวนเงิน เอาประกันภัย และลักษณะสิ่งปลูกสร้าง

 ตารางทุนประกันบ้านอยู่อาศัยแบบประหยัด เบี้ยสุทธิ 600 บาท
(ราคาเท่ากันทุกประเภทสิ่งปลูกสร้าง)
ทุนประกัน
อาคารคอนกรีต
อาคารตึกปนไม้
อาคารไม้
บ้านอยู่อาศัย
600,000 บาท
250,000 บาท
150,000 บาท


สอบถามเพิ่มเติม หรือขอรับใบคำขอเอาประกันภัยได้ที่หมายเลข 0841350380

ทำไมต้องทำประกันอัคคีภัยที่อยู่อาศัย ?


ทำไมต้องทำประกันอัคคีภัยที่อยู่อาศัย ?

คำตอบง่ายๆท่านเคยได้ยินสุภาษิตที่ว่าโจรขึ้นบ้าน10ครั้งยังไม่เท่ากับไฟไหม้บ้านหนเดียวหรือไม่แต่ความจริงแล้วประกันภัยสามารถช่วยคุณได้การทำประกันภัยนั้นจะช่วยให้ผ่อนหนักให้เป็นเบาโดยเป็นการซื้อความคุ้มครองก่อนที่จะเกิดความเสียหาย
ใดๆเกิดขึ้นจริงคุณจะมั่นใจว่าหากเกิดความเสียหายใดๆเกิดขึ้นคุณจะได้รับค่าสินไหมทดแทนเพื่อชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นกับที่อยู่อาศัย
 หรือทรัพย์สินที่ประกันไว้ 
ทำประกันภัยตอนที่กู้ซื้อบ้านแล้วทำไมต้องทำเพิ่มด้วยละ ?
การทำประกันภัยตอนที่กู้ซื้อบ้านนั้นทางธนาคารจะขอให้ผู้กู้ทำประกันตามวงเงินกู้ซึ่งโดยทั่วไปจะต่ำกว่ามูลค่าของทรัพย์สินที่แท้จริงและจะคุ้มครองเฉพาะตัวอาคารเท่านั้นดังนั้นคุณสามารถทำประกันภัยเพิ่มเติมให้เต็มมูลค่าที่อยู่อาศัยและสามารถทำประกันครอบคลุมทรัพย์สินและเฟอร์นิเจอร์ที่มีได้และถึงแม้ว่าท่านจะเป็นเพียงผู้เช่าก็สามารถทำประกันภัยส่วนเฟอร์นิเจอร์และทรัพย์สินที่ท่านเป็นเจ้าของได้
ไม่เห็นจำเป็นที่ต้องทำประกันคุ้มครองความเสียหายจากภัยธรรมชาติ ?
ไม่มีใครสามารถระบุได้ว่าภัยที่เกิดตามธรรมชาตินั้นจะเกิดขึ้นที่ใดและเมื่อไรเหมือนกับเหตุการณ์ภัยน้ำท่วมปีที่ผ่านมา ไม่มีใครคาดคิดว่าจะเกิดขึ้น

Tuesday, January 31, 2012

การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง แบ่งตามประเภทของภัยได้กี่ประเภท ?


การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง จำแนกตามประเภทของภัย

  • ภัยขนส่งสินค้าในประเทศ (INLAND INSURANCE)
    รับประกันภัยสินค้าหรือทรัพย์สิน ในระหว่างการขนส่งจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง โดยยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งคือ รถบรรทุก ล้อรถบรรทุก 10 ล้อรถเทรลเลอร์ เรือฉลอม เรือโป๊ะ และเครื่องบินพาณิชย์
  • ภัยทางทะเล (CARGO INSURANCE)
    รับประกันภัยสินค้าหรือทรัพย์สิน ในระหว่างการขนส่งจากผู้ขายในประเทศหนึ่งไปยังผู้ซื้อในอีกประเทศหนึ่ง โดยทางเรือเดินสมุทร เครื่องบินพาณิชย์ หรือทางพัสดุไปรษณีย์
  • ภัยตัวเรือ (HULL INSURANCE)
    รับประกันภัยคุ้มครองความสูญเสียหรือเสียหายของโครงสร้างตัวเรือรวมถึงเครื่องจักรอุปกรณ์ต่าง ๆ
    แบ่งเป็น ประเภท คือ
    1. ประเภทไม่มีเครื่องจักร
    2. ประเภทที่มีเครื่องจักรหรือกำลังขับเคลื่อนเอง

การประกันภัยรถยนต์ – ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) หากรถยนต์ท่านไม่มี พรบ ต่อทะเบียนไม่ได้ แถมยังมีความผิดทางกฎหมายอีกด้วย

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ(ฉบับที่4) พ.ศ.2550

*     กฎหมายบังคับให้รถยนต์ทุกคันที่จดทะเบียนกับการขนส่งทางบกจะต้องมีการประกันภัยตาม พ.ร.บ. นี้ หากไม่ทำจะมีความผิดมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และให้เจ้าของรถหรือผู้ใช้รถเก็บรักษาหลักฐานแสดงการมีประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยจากรถไว้ให้พร้อมที่จะแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทุกเวลาที่ใช้รถ เว้นแต่กรณีรถคันดังกล่าวได้จดทะเบียนหรือชำระภาษีประจำปีแล้ว

*    ในการจดทะเบียนรถหรือการชำระภาษีรถประจำปี เจ้าหน้าที่กรมการขนส่งจะทำการตรวจสอบว่าได้มีการจัดทำประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ(พ.ร.บ.)แล้ว จึงจะรับจดทะเบียนหรือชำระภาษีประจำปีได้

*     การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) นี้ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุรถยนต์ ทุกคนที่ประสบภัยจากรถ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร คนเดินถนน หากได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย รวมไปถึงทายาทของผู้ประสบภัยข้างต้น ในกรณีผู้ประสบภัยเสียชีวิต

Monday, January 30, 2012

การประกันภัยอิสรภาพ คืออะไร


การประกันภัยที่จัดขึ้นโดยมีแนวความคิดมาจากการที่ศาลยุติธรรมจะจัดระบบการประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย โดยเพิ่มทางเลือกให้ประชาชนสามารถใช้หนังสือรับรองความรับผิดของบริษัทประกันภัยเป็นหลักประกันมาวาง
       ศาลได้แก่ ศาลยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการประกันภัย และสมาคมประกันวินาศภัย จึงได้ร่วมกันจัดทำกรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพขึ้น เมื่อประชาชนได้ซื้อประกันภัยอิสรภาพแล้ว บริษัทประกันภัยจะออกหนังสือรับรองให้ผู้เอาประกันภัยถือไว้ หากผู้เอาประกันภัยได้ทำความผิดและตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยระหว่างระยะเวลาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยจะได้รับความสะดวกอย่างยิ่งจากการที่สามารถใช้หนังสือรับรองนี้ ยื่นแก่เจ้าพนักงานเพื่อใช้ในการประกันตัว โดยไม่ต้องหาหลักทรัพย์อื่นใดมาวางเป็นหลักประกัน          
                     
รูปแบบการประกันภัยอิสรภาพ การทำประกันภัยอิสรภาพมี 2 รูปแบบคือ

 แบบที่ 1 กรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพก่อนกระทำความผิด (ใช้กับบุคคลทั่วไป)        
                
ให้ความคุ้มครองกรณีที่ผู้เอาประกันภัยถูกดำเนินคดีและถูกควบคุมตัวในคดีอาญาในฐาน ความผิดอันเนื่องมาจากการกระทำโดยประมาทบริษัทประกันภัยจะออกหนังสือรับรองตามจำนวนเงินเอาประกันภัยพร้อมกับกรมธรรม์ประกันภัย เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยนำไปใช้เป็นหลักประกันในการขอประกันตัวต่อเจ้าพนักงาน และหากผู้เอาประกันภัยได้ใช้หนังสือรับรองเพื่อประกันตัวไปแล้ว แต่ยังไม่เต็มวงเงินที่ระบุไว้ในหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัยผู้เอาประกันภัยสามารถขอหนังสือรับรองฉบับใหม่ ซึ่งมีวงเงินประกันตัวเท่ากับจำนวนเงินเอาประกันภัยที่คงเหลืออยู่จากบริษัทประกันภัยได้        

 แบบที่ 2 กรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพหลังกระทำความผิด (ใช้กับผู้ตกเป็นผู้ต้องหา หรือ จำเลย)          
                
ให้ความคุ้มครองกรณีที่ผู้เอาประกันภัยถูกดำเนินคดีและถูกควบคุมตัวในคดีอาญาในทุกลักษณะฐานความผิด   บริษัทประกันภัยจะออกหนังสือรับรองตามจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย เพื่อนำไปใช้เป็หลักประกัน        
               
ในการขอประกันตัวต่อเจ้าพนักงานตามคดีที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย     
- ผู้สามารถซื้อประกันภัย             
   1. กรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพก่อนกระทำความผิด ผู้สามารถซื้อประกันภัย คือ บุคคลทั่วไป เช่น ครู ทนายความ นักบัญชี พยาบาล แม่บ้าน พนักงานขับรถ เป็นต้น               
   2. กรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพหลังกระทำความผิด ผู้สามารถซื้อประกันภัย คือ ผู้ตกเป็นผู้ต้องหา หรือจำเลย
                  
ระยะเวลาความคุ้มครอง
       แบบที่ 1 กรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพก่อนกระทำความผิด
              - ตามที่ระบุในหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัย หรือ
              - จนกว่าคดีจะถึงที่สุด
       แบบที่ 2 กรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพหลังกระทำความผิด - นับแต่เวลาที่ได้เริ่มประกันตัวจนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา
              - นับแต่เวลาที่ได้เริ่มประกันตัวจนศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษา หรือ
              - นับแต่เวลาที่ได้เริ่มประกันตัวจนศาลฎีกามีคำพิพากษา หรือ
              - นับแต่เวลาที่ได้เริ่มประกันตัวจนคดีถึงที่สุด

การบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัย
              ทั้งฝ่ายผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัยไม่สามารถบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยในระหว่างระยะเวลาประกันภัย

Sunday, January 29, 2012

การประกันอัคคีภัยที่อยู่อาศัย


การประกันอัคคีภัยที่อยู่อาศัย

 คุ้มครองความเสียหายขั้นพื้นฐาน อันเกิดจากไฟไหม้ ฟ้าผ่า และการระเบิดของแก๊สที่ใช้ในครัวเรือน สำหรับความเสียหายจากภัยเพิ่มพิเศษ เช่น ภัยลมพายุ ภัยเนื่องจากน้ำ ภัยน้ำท่วม* ภัยจากยวดยานพาหนะ ภัยจากอากาศยาน ภัยแผ่นดินไหว ภัยจลาจลนัดหยุดงาน ภัยจากการกระทำอย่างป่าเถื่อนและเจตนาร้าย ภัยระเบิด เป็นต้น สามารถขยายการคุ้มครองได้โดยการชำระเบี้ยประกันภัยสำหรับภัยเพิ่มพิเศษนั้น